เข้าสู่ระบบเพื่อติดตามแลกเปลี่ยนข่าวสาร พบปะพูดคุยสื่อสารเฉพาะกลุ่มสมาชิกเท่านั้น
Username:
Password:
 

กระดานสนทนา

ย้อนกลับไปหน้ากระดานสนทนา
ชื่อกระทู้ สรุปเหตุผลในการเสนอร่างพระราชบัญญัติที่จะเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จำนวน ๙ ฉบับ
ชื่อผู้โพส admin5
อ่าน 2473 ครั้ง
ตอบ 572 ครั้ง
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยสำนักกฎหมาย มีหน้าที่ในการจัดทำเอกสารประกอบการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ และร่างพระราชบัญญัติต่าง ๆ ที่จะเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้ใช้เป็นข้อมูลสำคัญสำหรับประกอบการพิจารณาและลงมติในวาระที่หนึ่ง ขั้นรับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ นั้น ในการนี้ สำนักกฎหมายได้จัดทำเอกสารประกอบการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ ตามระเบียบวาระการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๙ /๒๕๕๗ ในวันพฤหัสบดีที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๗ จำนวน ๙ ฉบับ ดังนี้

๑. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (กำหนดความผิดเกี่ยวกับเพศ)

สรุปเหตุผลในการเสนอร่างพระราชบัญญัติ เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้ผู้กระทำความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุกว่าสิบสามปีแต่ไม่เกินสิบห้าปีไม่ต้องรับโทษ หากศาลอนุญาตให้ผู้กระทำความผิดสมรสกับผู้เสียหายที่เป็นเด็กทำให้เกิดปัญหากรณีเด็กถูกบังคับให้ยินยอมสมรสกับผู้กระทำความผิดโดยศาลไม่อาจตรวจสอบได้สมควรกำหนดให้ศาลเยาวชนและครอบครัวซึ่งมีเขตอำนาจในการพิจารณาคดีเกี่ยวกับครอบครัวเป็นการเฉพาะเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาอนุญาตการสมรสดังกล่าว เพื่อให้มีการตรวจสอบความยินยอมของเด็กได้อย่างละเอียดรอบคอบยิ่งขึ้น

๒. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….(กำหนดบทนิยามคำว่า “เจ้าพนักงาน” กำหนดความผิดเกี่ยวกับศพ และความผิดเกี่ยวกับการคุกคาม และแก้ไขอัตราโทษปรับสำหรับความผิดลหุโทษ)

สรุปเหตุผลในการเสนอร่างพระราชบัญญัติ เนื่องจากในการพิจารณาคดีในปัจจุบันมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับความหมายของคำว่า “เจ้าพนักงาน” สมควรกำหนดบทนิยามคำว่า “เจ้าพนักงาน” ไว้ให้ชัดเจน

๓. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๔๐ พ.ศ. ….

สรุปเหตุผลในการเสนอร่างพระราชบัญญัติ เนื่องจากพระราชกำหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจ เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๔๐ มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการแปลงสินทรัพย์ เป็นหลักทรัพย์อย่างจำกัดและไม่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้การประกอบกิจการ ของนิติบุคคลเฉพาะกิจขาดความคล่องตัวและไม่สอดคล้องกับการทำธุรกรรมดังกล่าวในระบบสากล สมควรกำหนดให้นิติบุคคลเฉพาะกิจมีอำนาจรับสินทรัพย์ไว้เป็นหลักประกันเพื่อประโยชน์ในการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://click.senate.go.th/?p=6580

แจ้งลบกระทู้ไปยังผู้ดูแลระบบ วันที่โพส 3 พฤศจิกายน 2557  เวลา 09:38:45 น.   
หน้า