เข้าสู่ระบบเพื่อติดตามแลกเปลี่ยนข่าวสาร พบปะพูดคุยสื่อสารเฉพาะกลุ่มสมาชิกเท่านั้น
Username:
Password:
 

กระดานสนทนา

ย้อนกลับไปหน้ากระดานสนทนา
ชื่อกระทู้ วิป สนช. พิจารณาร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองการดำเนินงานของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ชื่อผู้โพส admin5
อ่าน 2477 ครั้ง
ตอบ 547 ครั้ง
วิป สนช. พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับการประสานงานจากคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ปชน.) ว่า คณะรัฐมนตรีจะเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คือ ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยที่ประชุมเห็นสมควรมอบหมายคณะกรรมาธิการการต่างประเทศเป็นผู้พิจารณา กำหนดระยะเวลาพิจารณาชั้นกรรมาธิการ ๓๐ วัน

เมื่อวันอังคารที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๕๘ ณ อาคารรัฐสภา ๒ ได้มีการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ ๓๕/๒๕๕๘ โดยมี ศาสตราจารย์พิเศษพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ เป็นประธานในการประชุม โดยมีวาระการพิจารณาที่น่าสนใจเกี่ยวกับการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับการประสานงานจากคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ปชน.) ว่า คณะรัฐมนตรีจะเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คือ ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีรายละเอียดเนื้อหาโดยสรุป ดังนี้

๑. ให้ยอมรับนับถือว่าสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ซึ่งเป็นองค์การระหว่างประเทศในระดับรัฐบาลเป็นนิติบุคคลและให้ถือว่ามีภูมิลำเนาในประเทศไทย

๒. กำหนดให้อาเซียน สถานที่ ทรัพย์สิน สินทรัพย์ การสื่อสารในรูปแบบและบรรณสารของอาเซียน รองเลขาธิการอาเซียน พนักงานของสำนักงานเลขาธิการอาเซียน ผู้เชี่ยวชาญที่ปฏิบัติภารกิจเพื่ออาเซียน ผู้แทนถาวร เจ้าหน้าที่ที่อยู่ระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ของอาเซียน และเจ้าหน้าที่ของรัฐสมาชิก ทั้งนี้ ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทย หรือเข้ามาในประเทศไทยเพื่อปฏิบัติหน้าที่ หรือในการปฏิบัติภารกิจเกี่ยวกับอาเซียน หรือทำการแทนอาเซียนในประเทศไทย ได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกัน ตามที่ระบุไว้ในกฎบัตรของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และความตกลงว่าด้วยเอกสิทธิ์และความคุ้มกันของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นควรแนะนำที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติรับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวและเห็นสมควรมอบหมายคณะกรรมาธิการการต่างประเทศเป็นผู้พิจารณา กำหนดระยะเวลาพิจารณาชั้นกรรมาธิการ ๓๐ วัน

แจ้งลบกระทู้ไปยังผู้ดูแลระบบ วันที่โพส 28 กันยายน 2558  เวลา 09:35:42 น.   
หน้า