เข้าสู่ระบบเพื่อติดตามแลกเปลี่ยนข่าวสาร พบปะพูดคุยสื่อสารเฉพาะกลุ่มสมาชิกเท่านั้น
Username:
Password:
 

กระดานสนทนา

ย้อนกลับไปหน้ากระดานสนทนา
ชื่อกระทู้ “อำนาจหน้าที่วุฒิสภา” ตามร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปฏิรูป
ชื่อผู้โพส admin5
อ่าน 2464 ครั้ง
ตอบ 584 ครั้ง
ตามที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้เสนอร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ร่างแรก) ที่จัดทำเสร็จต่อประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ และประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติได้จัดให้มีการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติระหว่างวันจันทร์ที่ ๒๐ เมษายน ถึงวันอาทิตย์ที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๘ ที่ผ่านมา เพื่อให้สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติได้พิจารณาเสนอแนะหรือให้ความเห็นต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ อันจะเป็นประโยชน์ในการจัดทำรัฐธรรมนูญให้มีเนื้อหาสาระครบถ้วนสมบูรณ์ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ต่อไป นั้น ซึ่งตามร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับนี้ได้กำหนดให้มี “องค์กรผู้ใช้อำนาจด้านนิติบัญญัติของรัฐ” คือ “รัฐสภาประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา”

โดยในส่วนของ “วุฒิสภา” นั้น ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนไม่เกิน ๒๐๐ คน มีที่มาจากการเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด จังหวัดละหนึ่งคน และมาจากการเลือกกันเองและการสรรหาเท่ากับจำนวนรวมข้างต้นหักด้วยจำนวนสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้ง สำหรับสมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภานั้น มีกำหนดคราวละ ๖ ปี นับแต่วันเลือกตั้งหรือวันที่มีประกาศรับรองผลการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา และจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันสองวาระมิได้ อนึ่ง ในวาระเริ่มแรกเมื่อครบ ๓ ปีนับแต่วันเริ่มต้นสมาชิกภาพ ให้สมาชิกวุฒิสภาตามมาตรา ๑๒๑ (๑) (๒) และ (๓) ทั้งหมดพ้นจากสมาชิกภาพ และให้สมาชิกวุฒิสภาตามมาตรา ๑๒๑ (๔) จำนวนกึ่งหนึ่งพ้นจากสมาชิกภาพโดยการจับสลาก และมิให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับลักษณะต้องห้าม รวมทั้งบทบัญญัติเกี่ยวกับวาระการดำรงตำแหน่งและการห้ามดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินหนึ่งวาระ มาใช้บังคับกับบุคคลดังกล่าวในการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาคราวถัดไปหลังจากที่บุคคลดังกล่าวสิ้นสุดสมาชิกภาพ

เมื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในส่วนของบทบาทและอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภาฉบับนี้แล้ว ได้บัญญัติให้วุฒิสภามีบทบาทและอำนาจหน้าที่ ดังนี้

๑. อำนาจด้านนิติบัญญัติ

๒. ด้านการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน

๓. ด้านการพิจารณาให้บุคคลดำรงตำแหน่งตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ

๔. ด้านการถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง

๕. ด้านการให้ความเห็นชอบในเรื่องสำคัญของแผ่นดิน

๖. ด้านอื่น ๆ

ตามที่ได้กล่าวมาโดยลำดับจะเห็นได้ว่าร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปฏิรูปฉบับนี้ ทางคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ออกแบบให้วุฒิสภามีที่มาและองค์ประกอบจากหลากหลายสาขาอาชีพ ทั้งนี้ เพื่อให้วุฒิสภาเป็นสภาผู้แทนพลเมือง ซึ่งมีความสอดคล้องกับแนวคิดของมองเตสกิเออ (Montesquieu) นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส ซึ่งกล่าวไว้ว่า “โครงสร้างทางการเมืองที่ดีต้องเป็นโครงสร้างที่ดึงกลุ่มพลังที่แท้จริงในสังคมทุกกลุ่มให้เข้ามาอยู่ในโครงสร้างได้” รายละเอียดตามแนบ

แจ้งลบกระทู้ไปยังผู้ดูแลระบบ วันที่โพส 21 กรกฎาคม 2558  เวลา 10:54:12 น.   
หน้า