เข้าสู่ระบบเพื่อติดตามแลกเปลี่ยนข่าวสาร พบปะพูดคุยสื่อสารเฉพาะกลุ่มสมาชิกเท่านั้น
Username:
Password:
 

กระดานสนทนา

ย้อนกลับไปหน้ากระดานสนทนา
ชื่อกระทู้ ที่ประชุม กมธ. วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (การโอนคดีจากศาลชั้นต้นไปยังศาลแพ่งฯ) เลือก “ภัทรศักดิ์” นั่งประธาน กมธ.
ชื่อผู้โพส admin5
อ่าน 2465 ครั้ง
ตอบ 564 ครั้ง
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (การโอนคดีจากศาลชั้นต้นไปยังศาลแพ่งฯ) ประชุมนัดแรก มีมติเห็นชอบให้ นายภัทรศักดิ์ วรรณแสง ทำหน้าที่ประธานคณะกรรมาธิการฯคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (การโอนคดีจากศาลชั้นต้นไปยังศาลแพ่ง การส่งคำคู่ความดดยระบบอิเล็กทรอนิกส์ และการส่งคำคู่ความไปยังต่างประเทศ) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้มีการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๘ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๘ ณ อาคารรัฐสภา ๒ เพื่อพิจารณาเลือกตำแหน่งต่าง ๆ ในคณะกรรมาธิการวิสามัญ โดยมติที่ประชุมเห็นชอบให้ นายภัทรศักดิ์ วรรณแสงทำหน้าที่ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ ขณะที่ พลตำรวจเอก เอก อังสนานนท์ เป็นรองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ คนที่หนึ่ง นางสุรางคณา วายุภาพ เป็นรองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญคนที่สอง โดยมี นายชาญณรงค์ ปราณีจิตต์ ทำหน้าที่โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญ และนายสรวิศ
ลิมปรังษี ทำหน้าที่เลขานุการฯ

สำหรับร่างพระราชบัญญัติฯ นี้ คณะรัฐมนตรีได้เป็นผู้เสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติโดยมีเหตุผลและความจำเป็นเนื่องจากปัจจุบันมีคดีที่มีผลกระทบต่อการอนุรักษ์หรือการบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การคุ้มครองผู้บริโภคเป็นส่วนรวม หรือประโยชน์สาธารณะอย่างอื่นขึ้นสู่ศาลเป็นจำนวนมาก และบางคดีมีความยุ่งยากซับซ้อน การให้ศาลชั้นต้นที่รับคดีไว้ต้องพิจารณาพิพากษาคดีเหล่านั้น อาจเกิดปัญหาในทางปฏิบัติทำให้คดีช้า ในทางตรงกันข้ามหากสามารถโอนคดีเหล่านั้นไปยังศาลแพ่ง ซึ่งได้จัดตั้งแผนกคดีชำนัญพิเศษไว้แล้ว ก็จะช่วยให้การพิจารณาคดีมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และสมควรกำหนดให้ศาลแพ่งที่รับคดีไว้ มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณานอกเขตศาลได้ เพื่อให้องค์คณะผู้พิพากษาได้สืบพยานหลักฐานด้วยตนเอง นอกจากนี้ การเก็บรักษาข้อมูลคดีของศาลในรูปของเอกสารในปัจจุบันต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง และไม่สะดวกต่อการค้นหาและตรวจสอบ ทั้งการสื่อสารระหว่างกันโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสะดวก รวดเร็ว เชื่อถือได้มากขึ้น ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายมากกว่าการส่งเป็นเอกสาร สมควรแก้ไขให้การจัดเก็บข้อมูลคดีของศาลสามารถดำเนินการในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และการยื่นส่งคำคู่ความและเอกสารระหว่างศาลกับคู่ความหรือระหว่างคู่ความด้วยกัน สามารถดำเนินการโดยใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศได้ รวมทั้งสมควรแก้ไขวิธีการส่งคำคู่ความและเอกสารโดยวิธีอื่นให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

แจ้งลบกระทู้ไปยังผู้ดูแลระบบ วันที่โพส 22 มิถุนายน 2558  เวลา 11:46:21 น.   
หน้า