ชื่อผู้โพส
admin5
อ่าน
2990 ครั้ง
ตอบ
0 ครั้ง
|
วิป สนช. พิจารณาร่าง พ.ร.บ. ที่ได้รับการประสานงานจากคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติว่าคณะรัฐมนตรีเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นเรื่องด่วน จำนวน ๑๒ ฉบับ ซึ่งเป็นร่าง พ.ร.บ. เกี่ยวกับการจัดตั้งศาลและกระบวนการยุติธรรม ซึ่งมีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกัน ๙ ฉบับ
เมื่อวันอังคารที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๘ ณ อาคารรัฐสภา ๒ ได้มีการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ ๒๖/๒๕๕๘ โดยมี ศาสตราจารย์พิเศษพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ เป็นประธานในการประชุม โดยมีวาระการพิจารณาเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับการประสานงานจากคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติว่าคณะรัฐมนตรีเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นเรื่องด่วน จำนวน ๑๒ ฉบับ ดังนี้
- ร่างพระราชบัญญัติที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกัน จำนวน ๙ ฉบับได้แก่
๑) ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ พ.ศ.
.
๒) ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระธรรมนูญศาลยุติธรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ.
.
๓) ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ.
.
๔) ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ (ฉบับที่ ..) พ.ศ.
.
๕) ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ.
.
๖) ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ.
.
๗) ร่างพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
๘) ร่างพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค (ฉบับที่ ..) พ.ศ.
.
๙) ร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ.
.
ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นสมควรกราบเรียนประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อมีดำริบรรจุระเบียบวาระร่างพระราชบัญญัติ ลำดับที่ ๑) ถึง ๙) ในระเบียบวาระการประชุมสภาเป็นเรื่องด่วนเพิ่มเติมในวันศุกร์ที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๘ และเห็นควรแนะนำที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณารับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๙ ฉบับดังกล่าว โดยตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นเพื่อพิจารณา กำหนดระยะเวลาพิจารณาชั้นกรรมาธิการ ๖๐ วัน กำหนดแปรญัตติ ๑๕ วัน
- ร่างพระราชบัญญัติอื่น ๆจำนวน ๓ ฉบับได้แก่
๑๐) ร่างพระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ.
.
๑๑) ร่างพระราชบัญญัติกำลังพลสำรอง พ.ศ.
.
๑๒) ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานของสำนักงานวิจัยเศรษฐกิจมหภาคของภูมิภาคอาเซียน+๓ พ.ศ.
.
ซึ่งที่ประชุมมีมติควรแนะนำที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณารับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๓ ฉบับดังกล่าว โดยร่างพระราชบัญญัติ ลำดับที่ ๑๐) และ ๑๑) เห็นสมควรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นเพื่อพิจารณา ส่วนลำดับที่ ๑๒) เห็นสมควรพิจารณาโดยกรรมาธิการเต็มสภา เว้นแต่ปรากฏประเด็นพิจารณาที่สำคัญก็จะพิจารณาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญหรือมอบหมายให้คณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาคณะใดคณะหนึ่งเป็นผู้พิจารณา ในการประชุมคราวต่อไป
|