เข้าสู่ระบบเพื่อติดตามแลกเปลี่ยนข่าวสาร พบปะพูดคุยสื่อสารเฉพาะกลุ่มสมาชิกเท่านั้น
Username:
Password:
 

กระดานสนทนา

ย้อนกลับไปหน้ากระดานสนทนา
ชื่อกระทู้ วิป สนช. เตรียมตั้ง กมธ. สามัญ ตรวจสอบประวัติฯ ว่าที่กรรมการสิทธิมนุษยชน
ชื่อผู้โพส admin5
อ่าน 2995 ครั้ง
ตอบ 0 ครั้ง
วิป สนช. เตรียมการตั้งคณะกรรมาธิการสามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จำนวน ๗ คน เสนอต่อสภาโดยสภาต้องกำหนดดำเนินการให้ความเห็นชอบให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับรายชื่อ

เมื่อวันอังคารที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๘ ณ อาคารรัฐสภา ๒ ได้มีการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ ๒๗/๒๕๕๘ โดยมี ศาสตราจารย์พิเศษพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ เป็นประธานในการประชุม โดยมีวาระการพิจารณาที่น่าสนใจ ดังนี้

๑. การเตรียมการตั้งคณะกรรมาธิการสามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เนื่องจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ชุดที่ ๒ ครบวาระการดำรงตำแหน่ง ๖ ปี เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๘ ซึ่งคณะกรรมการสรรหากรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้สรรหาและคัดเลือกผู้สมควรเป็นกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตามมาตรา ๒๕๖ ประกอบมาตรา ๒๐๖(๑) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ จำนวน ๗ คน ประกอบด้วย

๑) นางฉัตรสุดา จันทร์ดียิ่ง
๒) นายบวร ยสินทร
๓) นางประกายรัตน์ ต้นธีรวงศ์
๔) นายวัส ติงสมิตร
๕) รองศาสตราจารย์ศุภชัย ถนอมทรัพย์
๖) นายสุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย
๗) นางอังคณา นีละไพจิตร

ซึ่งคาดว่าจะมีการเสนอรายชื่อต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ภายในวันอังคารที่ ๒๒กรกฎาคม ๒๕๕๘ นี้ โดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะต้องดำเนินการให้ความเห็นชอบให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับรายชื่อ ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นควรแนะนำที่ประชุมสภาตั้งคณะกรรมาธิการสามัญขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อทำหน้าที่ดังกล่าว จำนวน ๑๗ คน ประกอบด้วยผู้แทนคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาทุกคณะ ๆ ละ ๑ คน รวมเป็น ๑๖ คน ๒) ผู้แทนคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จำนวน ๑ คน คือ
นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ กำหนดระยะเวลาดำเนินการ ๒๐ วัน

๒. พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่จะเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จำนวน ๒ ฉบับ ได้แก่

๑) ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานของสำนักงานวิจัยเศรษฐกิจมหาภาคองภูมิภาคอาเซียน +๓ พ.ศ….
๒) ร่างพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ….

โดยที่ประชุมมีมติเห็นควรรับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติในลำดับที่ ๑) และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นเพื่อพิจารณา ส่วนร่างพระราชบัญญัติในลำดับที่ ๒) ที่ประชุมเห็นควรเสนอแนะต่อที่ประชุมสภาให้ส่งร่างฯ นี้ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาก่อนสภามีมติรับหลักการตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา ๑๔ วรรคห้า โดยมีกำหนดเวลาไม่เกิน ๒๐ วัน


แจ้งลบกระทู้ไปยังผู้ดูแลระบบ วันที่โพส 4 สิงหาคม 2558  เวลา 16:07:23 น.   
หน้า