ชื่อผู้โพส
admin5
อ่าน
2992 ครั้ง
ตอบ
566 ครั้ง
|
ที่ประชุม วิป สนช. เสนอที่ประชุมสภาพิจารณาเรื่องการเสนอชื่อบุคคลที่สมควรได้รับการเสนอชื่อให้เป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) พร้อมเสนอพิจารณาร่างพระราชบัญญัติและหนังสือสัญญา จำนวน ๙ ฉบับ
เมื่อวันอังคารที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๘ ณ อาคารรัฐสภา ๒ ได้มีการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (วิป สนช.) ครั้งที่ ๑๑/๒๕๕๘ โดยมี ศาสตราจารย์พิเศษพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ เป็นประธานใน ที่ประชุม ซึ่งการประชุมในครั้งนี้ได้มีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติและหนังสือสัญญาที่จะเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติประกอบด้วย ๑) ร่างพระราชบัญญัติที่คณะรัฐมนตรีขอรับไปพิจารณาก่อนรับหลักการและส่งกลับคืนมาภายในกำหนดเวลาตามข้อบังคับฯ ข้อ ๑๑๗ คือ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ.
. (ความผิดเกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารเด็ก) (นางสาวจินตนันท์ ชญาต์ร ศุภมิตร และคณะ เป็นผู้เสนอ) ซึ่งที่ประชุมฯ เห็นควรแนะนำ ที่ประชุมสภารับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นคณะหนึ่งเพื่อพิจารณา จำนวน ๑๘ คน กำหนดระยะเวลาพิจารณาในชั้นคณะกรรมาธิการ ๓๐ วัน และกำหนดแปรญัตติภายใน ๗ วัน ๒) ร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับการประสานจากคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ปนช.) ว่าคณะรัฐมนตรีจะเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นเรื่องด่วน จำนวน ๗ ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ ๑ ร่างพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.
. ฉบับที่ ๒ ร่างพระราชบัญญัติคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็น พ.ศ.
. ฉบับที่ ๓ ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ.
. ฉบับที่ ๔ ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสวนดุสิต พ.ศ.
. ฉบับที่ ๕ ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ.
. ฉบับที่ ๖ ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ.
. และ ฉบับที่ ๗ ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ.
. โดยที่ประชุมเห็นควรแนะนำที่ประชุมสภารับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวไว้พิจารณา และ ๓) หนังสือสัญญาที่คณะรัฐมนตรีเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบตามมาตรา ๒๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ คือ พิธีสาร ๒ ว่าด้วยสิทธิรับขนการจราจรเสรีภาพที่ห้า ซึ่งที่ประชุมพิจารณาแล้วมีมติเห็นชอบด้วยกับพิธีสารดังกล่าว และเห็นควรแนะนำที่ประชุมสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบ และดำเนินการพิจารณาในลักษณะเดียวกับที่เคยปฏิบัติมา โดยเปิดโอกาสให้สมาชิกสามารถอภิปรายซักถามได้ สำหรับการบริหารจัดการการอภิปรายเห็นควรให้อยู่ในดุลพินิจของประธานสภา
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้พิจารณาเรื่องการเสนอชื่อบุคคลที่สมควรได้รับการเสนอชื่อให้เป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ตามที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ โดยที่ประชุมมีมติเห็นควรแนะนำที่ประชุมสภาตั้งคณะกรรมาธิการสามัญขึ้นคณะหนึ่งเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ จำนวน ๑๗ คน โดยมีระยะเวลาดำเนินการทั้งสิ้น ๒๐ วัน
|