เข้าสู่ระบบเพื่อติดตามแลกเปลี่ยนข่าวสาร พบปะพูดคุยสื่อสารเฉพาะกลุ่มสมาชิกเท่านั้น
Username:
Password:
 

กระดานสนทนา

ย้อนกลับไปหน้ากระดานสนทนา
ชื่อกระทู้ กฟฝ. ชี้แจงข้อสงสัยเรื่อง เขื่อนภูมิพล-สิริกิติ์
ชื่อผู้โพส admin5
อ่าน 3010 ครั้ง
ตอบ 2 ครั้ง
1. วิธีการบริหารจัดการน้ำของ กฟฝ. ทำอย่างไร

เขื่อนในประเทศไทยส่วนใหญ่มีจุดประสงค์เก็บน้ำเพื่อใช้ในด้านเกษตรกรรม อตุสาหกรรม อุปโภคบริโภค และการบรรเทาอุทกภัย ซึ่งการบริหารจัดการน้ำจะนำข้อมูลปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำและปริมาณการใช้น้ำของพื้นที่ท้ายเขื่อนในรอบ 30 ปีประกอบการจัดทำ โดยใช้หลักเกณฑ์ 2 ข้อด้วยกัน คือ

- เกณฑ์ควบคุมระดับน้ำตัวล่าง (Lower Rule Curve) เป็นเกณฑ์วัดว่า ถ้าเก็บน้ำระดับต่ำกว่านี้ จะทำให้มีโอกาสขาดแคลนน้ำในปีหน้า

- เกณฑ์ควบคุมระดับน้ำตัวบน (Upper Rule Curve) เป็นเกณฑ์วัดว่า ถ้าเก็บน้ำระดับสูงกว่านี้ มีโอกาสทำให้เขื่อนล้น จนต้องเปิดประตูระบายน้ำล้น (Spillway)

เพราะฉะนั้น การควบคุมระดับน้ำของเขื่อน จึงต้องคุมให้อยู่ระหว่าง 2 เกณฑ์นี้

ส่วนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา จะมีอธิบดีกรมชลประทานเป็นประธาน ร่วมกับ 8 หน่วยงานเป็นกรรมการ ได้แก่ กรมอุตุนิยมวิทยา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร กรมทรัพยากรน้ำ กรมอุทกศาสตร์ สำนักการระบายน้ำ กทม. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) และ กฟผ. ทั้งหมดนี้จะติดตามสถานการณ์น้ำและพิจารณาระดับน้ำที่จะต้องระบายออกจากเขื่อนทุกวันหรือทุกสัปดาห์

2. สาเหตุที่เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ไม่ระบายน้ำออกมาในช่วงต้นฤดูฝน

วันที่ 1 พฤษภาคม เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ มีระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำมาก กล่าวคือปริมาณน้ำร้อยละ 45.1 และ 50.3 ของความจุตามลำดับ ดังนั้นจึงต้องกักเก็บน้ำไว้ ทว่าต่อมามีพายุ 5 ลูกเข้าถล่ม ได้แก่ ไหหม่า นกเตน ไหถ่าง เนสาด และนาลแก ทำให้มีฝนตกหนักจนปริมาณน้ำในเขื่อนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ระบายออกไม่ทัน เพราะเกรงว่าจะมีผลกระทบต่อพื้นที่ท้ายเขื่อน

3. ทำไมเขื่อนต้องระบายน้ำผ่านประตูเพิ่มขึ้น นอกเหนือการปล่อยน้ำผ่านการผลิตกระแสไฟฟ้า

เพราะปริมาณน้ำใกล้เต็มความจุของอ่างเก็บน้ำ ทำให้ต้องรีบระบายผ่านประตูระบายน้ำล้นเพิ่ม เพื่อควบคุมไม่ให้น้ำเกินความจุของอ่าง มิเช่นนั้นอาจจะส่งผลด้านความปลอดภัยของเขื่อนได้ ซึ่งในขณะนี้เขื่อนก็ลดปริมาณการปล่อยน้ำลงมากแล้ว

4. เขื่อนต้องกักเก็บน้ำไว้จำนวนมากเพื่อผลิตไฟฟ้าหรือไม่

ไม่ เพราะการผลิตไฟฟ้าไม่ใช่วัตถุประสงค์หลักของเขื่อน แต่เป็นผลพลอยได้ ทั้งนี้ การผลิตไฟฟ้าไม่ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด เพราะ กฟผ. ได้รับอัตราไฟฟ้าในรูปแบบผลตอบแทนเงินลงทุน (ROIC)

5. เขื่อนลดการปล่อยน้ำลงแล้ว แต่ทำไมน้ำยังท่วมอยู่

สาเหตุที่น้ำยังท่วมอยู่ เป็นเพราะเขื่อนตั้งอยู่ที่แม่น้ำปิงและน่าน ซึ่งมีการควบคุมการปล่อยน้ำลงใต้เขื่อนในระดับที่พอเหมาะอยู่แล้ว คิดเป็นร้อยละ 16.7 ของมวลน้ำที่ไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ ขณะที่แม่น้ำวังและยม ไม่มีเขื่อนที่คอยควบคุมการไหลของน้ำ ทำให้มีมวลน้ำมากถึงร้อยละ 83.3 ที่ไหลเข้าสู่จังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นก็ไหลเข้าท่วมพื้นที่ภาคกลาง เข้าสู่กรุงเทพฯ

นอกจากนี้ ทั้งสองเขื่อนยังช่วยกักเก็บน้ำในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน ช่วยบรรเทาสภาวะน้ำท่วมใต้เขื่อนอีกด้วย ในตอนนั้นมีมวลน้ำมากถึง 10,940 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ระบายออกมาเพียง 4,915 ล้านลูกบาศก์เมตร เท่านั้น ซึ่งมวลน้ำที่ปล่อยออกมา จะถึงกรุงเทพฯ ภายใน 2 สัปดาห์ และจะไม่มีผลต่อสถานการณ์น้ำที่ท่วมกรุงเทพฯ อยู่ในขณะนี้
ข้อมูลดีๆจากเว็ปกระปุก คะ..ที่ทางผู้นำนักประชาธิปไตยนำมาฝากกัน
แจ้งลบกระทู้ไปยังผู้ดูแลระบบ วันที่โพส 7 พฤศจิกายน 2554  เวลา 15:55:51 น.   

ความเห็นที่ 2
ชื่อผู้ตอบ Guest (No name)
น้ำท่วมแบบนี้พวกที่ต่อต้านการสร้างเขื่อนไม่เห็นออกมาเคลื่อนไหว เห็นไหมละ โธ่
แจ้งลบความเห็นที่ 2 ไปยังผู้ดูแลระบบวันที่ตอบ 10 พฤศจิกายน 2554 เวลา 09:59:30 น.  

ความเห็นที่ 1
ชื่อผู้ตอบ เอาะ (Guest)
ถ้าหากไม่มีเขื่อนคนไทยคงทุกข์ยาก และเดือดร้อนมากกว่านี้ นี่เป็นเพราะพระราชดำริของในหลวงนะเนี่ย คนไทยช่างโชคดีจริงๆๆๆๆ
แจ้งลบความเห็นที่ 1 ไปยังผู้ดูแลระบบวันที่ตอบ 10 พฤศจิกายน 2554 เวลา 09:58:33 น.  

หน้า  1