ชื่อผู้โพส
admin5
อ่าน
2997 ครั้ง
ตอบ
568 ครั้ง
|
ตามที่ที่ประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (วิป.สนช.) ครั้งที่ ๒/๒๕๕๗ เมื่อวันอังคารที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๗ ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ ..) พ.ศ.
. (ส่งใบสั่งทางไปรษณีย์) และร่างพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ ..) พ.ศ.
. (กำหนดสัญญาณจราจรเพิ่มเติมกำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ใช้ไฟฉายเรืองแสงในการแสดงสัญญาณจราจรได้) ซึ่งคณะรัฐมนตรีเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อพิจารณา
ที่ประชุมได้พิจารณาแล้ว มีมติเห็นควรแนะนำที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติรับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้งสอบฉบับไว้พิจารณา และสมควรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ. จราจรทางบก (ฉบับที่ ..) พ.ศ.
. (ส่งใบสั่งทางไปรษณีย์) โดยมีกำหนดการแปรญัตติ ๗ วัน ตามข้อบังคับฯ และมีมติกำหนดเวลาในการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ที่ประชุมมีมติรับหลักการ อีกทั้งยังเห็นควรส่งร่าง พ.ร.บ. จราจรทางบก (ฉบับที่ ..) พ.ศ.
. (กำหนดสัญญาณจราจรเพิ่มเติมกำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ใช้ไฟฉายเรืองแสงในการแสดงสัญญาณจราจรได้) ให้คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ. จราจรทางบก (ฉบับที่ ..) พ.ศ.
. (ส่งใบสั่งทางไปรษณีย์) พิจารณาไปในคราวเดียวกัน
ต่อมา ร่าง พ.ร.บ. ทั้งสองฉบับได้บรรจุเข้าสู่การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๖/๒๕๕๗ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๗ ซึ่งที่ประชุมสภาได้มีมติรับหลักการในวาระ ๑ และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ทั้งสองฉบับ ตามข้อแนะนำของที่ประชุม วิป.สนช. โดยร่าง พ.ร.บ. ทั้ง ๒ ฉบับ มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
ร่าง พ.ร.บ. จราจรทางบก (ฉบับที่ ..) พ.ศ.
. (ส่งใบสั่งทางไปรษณีย์) เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ เนื่องจากในปัจจุบัน เมื่อเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่พบการกระทำความผิดของผู้ขับขี่ไม่ว่าด้วยตนเอง หรือด้วยเครื่องอุปกรณ์ใด ๆ แล้ว แต่ไม่อาจออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่ได้ในขณะนั้นเพราะไม่สามารถเรียกให้ผู้ขับขี่หยุดรถได้ ซึ่งส่งผลให้การบังคับใช้กฎหมายไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๔๐ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๓๒๕ เพื่อให้เจ้าพนักงานหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่พบการกระทำความผิดดังกล่าว สามารถส่งใบสั่งไปยังภูมิลำเนาของเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับได้
ติดตามเพิ่มเติมที่ http://click.senate.go.th/?p=6668
|