ชื่อผู้โพส
admin5
อ่าน
2989 ครั้ง
ตอบ
0 ครั้ง
|
บทวิเคราะห์ระบบรัฐสภาและระบบการเลือกตั้งเพื่อปรับใช้กับระบบการเมืองของราชอาณาจักรไทย
รัฐสภาเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจอธิปไตยของประเทศ การดำเนินการของรัฐสภาเป็นปัจจัยหลักปัจจัยหนึ่งในการกำหนดทิศทางในด้านนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ เมื่อรัฐสภาเป็นองค์กรที่ตรวจสอบการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารและเป็นตัวแทนของประชาชนในการมีส่วนร่วมทางการเมือง ระบบรัฐสภาที่มีความเหมาะสมกับบริบททางสังคม วัฒนธรรม ประเพณี ค่านิยมของสังคม และลักษณะทางภูมิศาสตร์ของรัฐนั้น ๆ จะช่วยก่อร่างสังคมประชาธิปไตยอย่างแท้จริง กระบวนการนิติบัญญัติซึ่งเชื่อมโยงกับฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จะทำให้ระบบการเมืองของรัฐนั้นมีความเข้มแข็งและการบริหารราชการแผ่นดินมีเสถียรภาพ ด้วยเหตุนี้ การออกแบบระบบรัฐสภาซึ่งรวมไปถึงการกำหนดที่มาของผู้แทนราษฎร คุณสมบัติของผู้แทนราษฎร และการเลือกรูปแบบการเลือกตั้ง จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการวางรูปแบบของรัฐและวัฒนธรรมทางการเมืองของประเทศ
เนื่องจากประเด็นในการพิจารณาเกี่ยวกับขั้นตอนในการได้มาซึ่งสมาชิกรัฐสภาจะมีผลต่อการดำเนินการของรัฐสภาไม่ว่าระบบรัฐสภานั้นจะเป็นระบบรัฐสภาระบบใด เพื่อให้การออกแบบ
ระบบรัฐสภามีความเหมาะสมกับบริบททางการเมืองและสังคมของราชอาณาจักรไทย บทวิเคราะห์ระบบรัฐสภาและระบบการเลือกตั้งเพื่อปรับใช้กับระบบการเมืองของราชอาณาจักรไทย
ซึ่งควรพิจารณาในประเด็นหลัก ๆ ทั้งหมด ๔ ประเด็น ดังนี้
ประเด็นที่ ๑ การเลือกรูปแบบระบบรัฐสภาระหว่างระบบสภาเดี่ยวกับระบบสภาคู่ (Deciding between Unicameral Parliamentary System and Bicameral Parliamentary System)
ประเด็นที่ ๒ การกำหนดที่มาของผู้แทนราษฎรโดยเปรียบเทียบระหว่างผู้แทนราษฎรที่มาจากการแต่งตั้งกับผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้ง (Comparing Appointed and Elected Representatives)
ประเด็นที่ ๓ การเลือกรูปแบบการเลือกตั้ง (Designing Electoral System)
ประเด็นที่ ๔ การกำหนดคุณสมบัติของผู้แทนราษฎร (Designing Qualifications of Representatives)
|