ชื่อผู้โพส
admin5
อ่าน
3028 ครั้ง
ตอบ
573 ครั้ง
|
ปัจจุบันรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ เมื่อใช้บังคับมาได้ระยะหนึ่งก็มีความจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติบางประการ เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ เพื่อรักษาไว้ซึ่งบรรยากาศแห่งความสงบเรียบร้อยและความปรองดองของคนในชาติ ซึ่งจะมีผลดีต่อการปฏิรูปประเทศตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญดังกล่าว ทางคณะรัฐมนตรีและคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงได้ประชุมปรึกษาลงมติให้เสนอร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พ.ศ.
. ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อพิจารณาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ และในคราวประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ ๓๖/๒๕๕๘ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๘ ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว แล้วลงมติเห็นชอบ จำนวน ๒๐๓ เสียง ไม่เห็นชอบ ไม่มี งดออกเสียง ๓ เสียง ไม่ลงคะแนน ไม่มี จึงถือว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ตามมาตรา ๔๖ วรรคสี่ ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑) พุทธศักราช ๒๕๕๘ มีดังนี้
๑. แก้ไขลักษณะต้องห้ามของสมาชิกสภานิติิบัญญัติแห่งชาติ
๒. เพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์
๓. กำหนดแนวทางการพิจารณาคำขอขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ
๔. กำหนดแนวทางการจัดให้มีการออกเสียงประชามติ
๕. กำหนดกลไกแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญให้สอดคล้องกับผลการออกเสียงประชามติ
๖. กำหนดการสิ้นสุดลงของสภาปฏิรูปแห่งชาติและคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
๗. กำหนดกลไกรองรับกรณีสภาปฏิรูปแห่งชาตืหรือคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลง
สำหรับสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑) พุทธศักราช ๒๕๕๘ รายละเอียดตามแนบ
|