เข้าสู่ระบบเพื่อติดตามแลกเปลี่ยนข่าวสาร พบปะพูดคุยสื่อสารเฉพาะกลุ่มสมาชิกเท่านั้น
Username:
Password:
 

กระดานสนทนา

ย้อนกลับไปหน้ากระดานสนทนา
ชื่อกระทู้ วิป สนช. เสนอที่ประชุมสภาพิจารณา “ภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ และเรื่องอื่น ๆ”
ชื่อผู้โพส admin5 (Guest)
อ่าน 2469 ครั้ง
ตอบ 0 ครั้ง
ที่ประชุม วิป สนช. เสนอที่ประชุมสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ตามที่คณะรัฐมนตรีเสนอ พร้อมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับการประสานงานจากคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ปนช.)เป็นเรื่องด่วน ๑ ฉบับ

เมื่อวันอังคารที่ ๓ มีนาคม ๒๕๕๘ ณ อาคารรัฐสภา ๒ ได้มีการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (วิป สนช.) ครั้งที่ ๙/๒๕๕๘ โดยมี ศาสตราจารย์พิเศษพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ เป็นประธานการประชุม โดยที่ประชุมได้รับทราบระเบียบวาระการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๔/๒๕๕๘ วันพฤหัสบดีที่ ๕ มีนาคม ๒๕๕๘ และครั้งที่ ๑๕/๒๕๕๘ วันศุกร์ที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๘ ซึ่งมีวาระสำคัญอาทิ การซักถามประเด็นตามญัตติของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยคณะกรรมาธิการซักถาม ตามข้อบังคับการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๗ ข้อ ๑๕๔ วรรคสาม เพื่อดำเนินกระบวนการถอดถอนสมาชิกวุฒิสภา จำนวน ๓๘ คน ออกจากตำแหน่ง การพิจารณานโยบายการตรวจเงินแผ่นดิน (พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๖๐) ของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว

จากนั้น ที่ประชุมได้มีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับการประสานงานจากคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ปนช.) ว่าคณะรัฐมนตรีจะเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นเรื่องด่วน จำนวน ๑ เรื่อง คือ ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งที่ประชุมเห็นควรแนะนำที่ประชุมสภาพิจารณารับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นคณะหนึ่งเพื่อพิจารณา จำนวน ๑๕ คน กำหนดระยะเวลาพิจารณาในชั้นกรรมาธิการ ๓๐ วัน กำหนดแปรญัตติภายใน ๗ วัน นอกจากนี้ที่ประชุมฯ ยังได้พิจารณาการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage) (คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ ตามมาตรา ๒๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗) ซึ่งที่ประชุมพิจารณาแล้วมีมติเห็นชอบด้วยกับการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาดังกล่าว และเห็นควรกราบเรียนประธานสภาเพื่อเสนอที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาให้ความเห็นชอบและดำเนินการพิจารณาในลักษณะเดียวกับที่เคยปฏิบัติมา โดยเปิดโอกาสให้สมาชิกสามารถอภิปรายซักถามได้ สำหรับการบริหารจัดการการอภิปรายเห็นควรให้อยู่ในดุลพินิจของประธานสภา

แจ้งลบกระทู้ไปยังผู้ดูแลระบบ วันที่โพส 9 มีนาคม 2558  เวลา 10:09:06 น.   
หน้า