เข้าสู่ระบบเพื่อติดตามแลกเปลี่ยนข่าวสาร พบปะพูดคุยสื่อสารเฉพาะกลุ่มสมาชิกเท่านั้น
Username:
Password:
 

กระดานสนทนา

ย้อนกลับไปหน้ากระดานสนทนา
ชื่อกระทู้ หลักการวิเคราะห์ร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
ชื่อผู้โพส admin5
อ่าน 2482 ครั้ง
ตอบ 4 ครั้ง
ร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินนั้น หมายความถึง ร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับการตั้งขึ้น ยกเลิก ลด เปลี่ยนแปลง แก้ไข ผ่อน หรือวางระเบียบการบังคับอันเกี่ยวกับภาษีหรืออากร การจัดสรร รับ รักษา หรือจ่ายเงินแผ่นดิน หรือการโอนงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน การกู้เงิน การค้ำประกัน หรือการใช้เงินกู้ หรือการดำเนินการที่ผูกพันทรัพย์สินของรัฐ หรือเงินตรา โดยร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินจะเสนอได้ก็แต่โดยคณะรัฐมนตรี ซึ่งหลักการในการเสนอร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินเป็นการบัญญัติเพื่อให้สอดคล้องกับหลักอำนาจริเริ่มในทางการคลังแผ่นดินโดยฝ่ายบริหาร กล่าวคือ อำนาจในการริเริ่มเสนอร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินต่อองค์กรผู้ใช้อำนาจด้านนิติบัญญัติเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบนั้น ต้องกระทำโดยองค์กรผู้ใช้อำนาจบริหารเท่านั้น ทั้งนี้ เนื่องจากร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินนั้น เมื่อผ่านความเห็นชอบจากองค์กรผู้ใช้อำนาจด้านนิติบัญญัติและมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายแล้วจะกระทบต่องบประมาณของแผ่นดินหรือสร้างภาระผูกพันต่องบประมาณของแผ่นดิน

สำหรับหลักการในการพิจารณาว่าร่างพระราชบัญญัติใดเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินนั้น มีแนวทางในการพิจารณา ดังนี้

๑) ควรพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นทั้งฉบับ ตั้งแต่หลักการ เหตุผล บันทึกสรุปสาระสำคัญและรายละเอียดของร่างพระราชบัญญัติ มิใช่พิจารณาแต่เฉพาะชื่อร่างพระราชบัญญัติหรือบางส่วนบางตอนของร่างพระราชบัญญัติเพราะอาจทำให้เกิดความผิดพลาดได้

๒) ควรพิจารณากฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับร่างพระราชบัญญัติฉบับนั้นประกอบด้วย การพิจารณาเฉพาะแต่เพียงร่างพระราชบัญญัติที่เสนอมานั้นอาจไม่เพียงพอ เพราะร่างพระราชบัญญัติที่เสนออาจเกี่ยวข้องกับกฎหมายฉบับอื่นด้วย

๓) ควรพิจารณาว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับนั้นมีสาระสำคัญตามความหมายของคำว่า “เกี่ยวด้วยการเงิน” ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ มาตรา ๑๔ บัญญัติไว้หรือไม่

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม




ที่มาภาพ : http://www.sudsapda.com/Images/SSD_Content/2014/12/horo-scoop/horo-scoop12-2014_1_01.jpg

แจ้งลบกระทู้ไปยังผู้ดูแลระบบ วันที่โพส 14 พฤษภาคม 2558  เวลา 13:30:09 น.   

ความเห็นที่ 2
ชื่อผู้ตอบ admin5
ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นนะคะ หวังว่าโฮมเพจผู้นำนักประชาธิปไตยจะมีประโยชน์กับท่านผู้อ่านต่อไปค่ะ

แจ้งลบความเห็นที่ 2 ไปยังผู้ดูแลระบบวันที่ตอบ 19 พฤษภาคม 2558 เวลา 13:52:23 น.  

ความเห็นที่ 1
ชื่อผู้ตอบ ชาญวิทย์ (Guest)
เป็นสิ่งที่ดีครับ จะได้มีการวางระบบบริการด้านการเงินให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ทั้งนี้ถ้าหากมีกฎหมายลำดับรอง เกี่ยวกับความผิดฐานทุจริต งานการเงิน โทษไม่มีที่สิ้นสุดจะดีมากเลยครับ
แจ้งลบความเห็นที่ 1 ไปยังผู้ดูแลระบบวันที่ตอบ 14 พฤษภาคม 2558 เวลา 13:52:42 น.  

หน้า  1