เข้าสู่ระบบเพื่อติดตามแลกเปลี่ยนข่าวสาร พบปะพูดคุยสื่อสารเฉพาะกลุ่มสมาชิกเท่านั้น
Username:
Password:
 

กระดานสนทนา

ย้อนกลับไปหน้ากระดานสนทนา
ชื่อกระทู้ วิป สนช. เสนอที่ประชุมสภาพิจารณา ร่าง รธน.แห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. ๒๕๕๗ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ชื่อผู้โพส admin5
อ่าน 2473 ครั้ง
ตอบ 566 ครั้ง
วิป สนช. เสนอที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ(ฉบับชั่วคราว) ๒๕๕๗ แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดพิจารณาโดยกรรมาธิการเต็มสภา พิจารณาให้แล้วเสร็จ ๓ วาระ ภายในวันเดียว โดยจะลงมติรับหลักการในวาระที่ ๑ ด้วยวิธีการขานชื่อ ต่อด้วยพิจารณาเรียงลำดับมาตรา ในวาระ ๒ ก่อนลงมติว่าจะเห็นชอบหรือไม่ในวาระที่ ๓ ด้วยวิธีการขานชื่อเช่นกัน

เมื่อวันอังคารที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๘ ที่อาคารรัฐสภา ๒ ได้มีการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ ๒๒/๒๕๕๘ โดยมี ศาสตราจารย์พิเศษพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ เป็นประธานในการประชุม โดยมีวาระการพิจารณาเรื่องด่วนเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช …. ซึ่งคณะรัฐมนตรีและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นผู้เสนอ และเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๘ โดยที่ประชุมมีมติเห็นควรแนะนำที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังนี้

๑. ให้อยู่ในดุลพินิจสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติในการพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฯ

๒. การพิจารณาจะกระทำโดยกรรมาธิการเต็มสภา

๓. การออกเสียงลงคะแนนจะดำเนินการโดย

- วาระที่ ๑ ใช้วิธีขานชื่อ

- วาระที่ ๒ เรียงลำดับมาตรา ใช้เสียงข้างมากเป็นประมาณ

- วาระที่ ๓ ใช้วิธีขานชื่อ

ทั้งนี้ การลงมติให้ความเห็นชอบจะต้องมีคะแนนเสียงตามที่รัฐธรรมนูญ มาตรา ๔๖ บัญญัติ ประกอบข้อบังคับการประชุมฯ ข้อ ๑๗๖ ด้วย และกำหนดพิจารณาให้แล้วเสร็จในวันเดียวกัน คือ วันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๘

จากนั้น ได้มีการพิจารณาร่างกฎหมายสำคัญที่จะเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้แก่ ร่างพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและนำเข้าในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ โดยที่ประชุมเห็นควรแนะนำที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณารับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว และเห็นสมควรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นคณะหนึ่งเพื่อพิจารณา จำนวน ๑๕ คน ประกอบด้วย ผู้แทนคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ คณะกรรมาธิการการพาณิชย์ การอุตสาหกรรม และการแรงงาน และคณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ การเงินและการคลัง ผู้แทนคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และผู้แทนคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ กำหนดระยะเวลาพิจารณาชั้นกรรมาธิการ ๓๐ วัน และกำหนดแปรญัตติ ๗ วัน

แจ้งลบกระทู้ไปยังผู้ดูแลระบบ วันที่โพส 22 มิถุนายน 2558  เวลา 11:29:52 น.   
หน้า